บทความสุขภาพ

เปลี่ยนภัยภูมิแพ้ ให้เป็นมิตรกับลูกรัก

Share:

“ภูมิแพ้” เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะผลกระทบอาจมากกว่าแค่สุขภาพของลูก แต่อาจส่งผลไปถึงโอกาสในการเรียนรู้ ที่ถูกจำกัดด้วยเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “ภูมิแพ้”

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร
ปกติเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมให้หมดไป โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Non-specific immune response) เป็นปราการด่านแรกในการกำจัดเชื้อโรค โดยมีกลไกการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายแบบไม่จำเพาะเจาะจง มีความสามารถในการป้องกัน หรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งแปลกปลอมไม่สูงนัก อาจกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

ถ้าระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะกำจัดสิ่งแปลกปลอมไม่หมด ร่างกายจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Specific immune response) ขึ้นมาต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมนั้น ซึ่งเป็นกลไกการกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนต่างๆ ในร่างกาย ที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ได้แก่ จุลินทรีย์ สารพิษ และโมเลกุลของสารต่างๆ ภายนอกร่างกาย รวมถึงเซลล์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในร่างกายด้วย ส่วนใหญ่แอนติเจนจะถูกกำจัดได้หมดและทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค

แต่ในกรณีที่แอนติเจนยังคงอยู่ ระบบภูมิคุ้มกันยังถูกกระตุ้นตลอดเวลา จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกาย การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลเสียต่อร่างกายแบบนี้ เรียกว่า ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) หรือภูมิแพ้ (Allergy)

แอนติเจน(Antigen) คือ สิ่งแปลกปลอมหรือสารที่ไมมีอยูในรางกาย เมื่อเขาสูรางกายสามารถกระตุนใหเกิดการตอบสนองทางภูมิคุมกัน กระตุ้นให้เกิดการสร้างแอนติบอดี (Antibody) แอนติเจนอาจเปรียบได้กับข้าศึกที่เข้ามาเพื่อมุ่งจะทำลายร่างกาย

แอนติบอดี(Antibody) คือ ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มของโปรตีนในน้ำเลือดและน้ำเหลือง ที่ถูกสร้างขึ้นมาต่อสู้และทำลายเชื้อโรคที่มีความจำเพาะต่อแอนติบอดีแต่ละชนิด เช่น แบคทีเรียและไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อหรือป่วย แอนติบอดีอาจเปรียบได้กับทหารที่คอยปกป้องไม่ให้ร่างกายถูกข้าศึกทำลาย

ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity)
สามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ 2 ประเภท
1. แบ่งตามระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยาหลังได้รับแอนติเจน เป็น 2 ชนิด คือ Immediate hypersensitivity ภาวะภูมิไวเกินที่มีอาการภายในเวลาเป็นนาที-ชั่วโมง และอีกชนิดเรียกว่า Delayed hypersensitivity จะเกิดอาการภายใน 24-72 ชั่วโมง

2. แบ่งตามกลไกการเกิดพยาธิสภาพต่อเนื้อเยื่อ เป็น 4 ชนิด

Type I (Anaphylactic hypersensitivity) เกิดเร็วภายในเวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง แอนติเจนที่เป็นสาเหตุ คือ สารที่อยู่ทั่วไปในธรรมชาติ เช่น ฝุ่น ขนสัตว์, โปรตีนต่างๆ เช่น สารพิษจากผึ้ง ต่อ แตน, ยา เช่น เพนนิซิลลิน จำแนกอาการได้เป็น 2 ประเภท คือ อาการเกิดกับอวัยวะหลายระบบพร้อมๆ กัน อาการเกิดอย่างเฉียบพลันและรุนแรง เช่น มีผื่น อาเจียน ถ่ายเหลว ความดันต่ำ หายใจลำบาก มีภาวะช็อค และเสียชีวิตได้ ส่วนอีกประเภทคืออาการเกิดกับอวัยวะบางระบบเท่านั้น เช่น ลมพิษ โรคหืด ภูมิแพ้อากาศ

Type IV (Cell mediated (delayed) hypersensitivity) ปฏิกิริยาค่อยๆ เกิดขึ้นช้า และสูงสุดประมาณ 24-72 ชั่วโมง แอนติเจนได้แก่สารและสิ่งแปลกปลอมทั่วๆไป
Type II (Cytolytic (Cytotoxic) hypersensitivity) แอนติเจนที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของร่างกาย ซึ่งชนิดของแอนติบอดีที่ถูกกระตุ้นขึ้นมา จะมีความจำเพาะต่อแอนติเจนของผนังเซลล์ ทำงานร่วมกับโปรตีนบางชนิด ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ของร่างกาย

Type III (Arthus type and immune complex hypersensitivity)

แอนติเจนเป็นสารที่อยู่ในกระแสเลือด หรือส่วนที่เป็นน้ำของร่างกาย แอนติบอดีที่ถูกกระตุ้นขึ้นมาเป็นชนิดที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนในกระแสเลือด ตัวทำลายจะละลายไปกับกระแสเลือด จะส่งผลต่ออวัยวะของร่างกาย เช่น ผนังเส้นเลือดของไต ผิวหนัง ปอด เป็นต้น

Type IV (Cell mediated (delayed) hypersensitivity)

ปฏิกิริยาค่อยๆ เกิดขึ้นช้า และสูงสุดประมาณ 24-72 ชั่วโมง แอนติเจนได้แก่สารและสิ่งแปลกปลอมทั่วๆไป

ภูมิแพ้ (Allergy)
คือโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป โรคภูมิแพ้ในเด็กพบบ่อยในช่วงอายุ 5-15 ปี มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มีอาการก่อนอายุ 20 ปี โรคภูมิแพ้ส่วนหนึ่งถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ถ้าพบว่าบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึงร้อยละ 25- 50 และถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 และมักจะมีอาการเร็ว

สารก่อภูมิแพ้ (Allergen) อาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง การรับประทานอาหาร ทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น ซึ่งเข้าสู่ร่างกายและกระตุ้นอวัยวะต่างๆ จนทำให้เกิดอาการแพ้ได้

อวัยวะที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ
โรคภูมิแพ้อากาศ (Allergic rhinitis) เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองไวเกิน โดยสารอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะเข้าทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ที่หายใจเข้าไป เป็นผลให้เซลล์บางชนิดในจมูก มีการแตกตัวและหลั่งสารเคมีออกมา ทำให้เกิดการอักเสบ คัดจมูก มีน้ำมูกไหล คันจมูก
โรคหืด (asthma) สิ่งกระตุ้นจะลงไปที่หลอดลม ทำให้เกิดหลอดลมตีบ หอบ หายใจเร็ว มีเสียงหวีดในปอด
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด อาจทำให้เกิดอาการร่วมกับระบบอื่นๆ ได้ เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม
โรคภูมิแพ้ทางตา ทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา ตาบวม น้ำตาไหล

สารก่อภูมิแพ้ที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่
สารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่น ฝุ่น ไร แมลงสาบ รังแคหรือขนสัตว์ เชื้อราในอากาศ ควันบุหรี่
สารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน เช่น ละอองหญ้า เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง ควันรถ ก๊าซพิษ แมลง
ปัจจัยอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ อาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล ไข่ขาว นมวัวและแป้งสาลี ทารกที่ได้รับนมแม่เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน พบว่ามีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้น้อยลง ทารกที่ได้รับอาหารเสริมตั้งแต่อายุ 4 เดือนมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่ไม่ได้รับอาหารเสริมถึง 3 เท่า

การทดสอบโรคภูมิแพ้สามารถทำได้ 2 วิธี
1. การทดสอบในร่างกาย
การทดสอบทางผิวหนัง (skin test) โดยนำเอาน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนังบริเวณท้องแขนหรือหลัง ใช้ปลายเข็มกดลงบนผิวหนังเพื่อให้น้ำยาซึมซับลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ตุ่มใดที่ผู้ป่วยแพ้จะมีรอยนูนคล้ายตุ่มยุงกัด แพทย์จะวัดขนาดของรอยนูน วิธีนี้ผู้ป่วยควรงดยาแก้แพ้ แก้คัน ยาลดน้ำมูก ยาเสริมภูมิ ยารักษาภูมิแพ้อย่างน้อย 7 วันก่อนการตรวจ
ทดสอบโดยการท้าทาย ( Challenge test) โดยนำสารก่อภูมิแพ้ปริมาณเล็กน้อยตามที่คำนวณได้ มาทดสอบโดยการรับประทาน ฉีด หรือทา แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณ แต่ต้องทำในโรงพยาบาล และเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
2. การทดสอบนอกร่างกาย เช่น การเจาะเลือดไปตรวจ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหยุดยาได้

การรักษาโรคภูมิแพ้

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
  • ห้องนอนควรใช่เครื่องนอนที่เหมาะสม ไม่ควรใช้หมอน หรือที่นอนที่ทำจากนุ่น และ
  • ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำด้วยน้ำร้อน 60 องศา นาน 15-20 นาที เพื่อฆ่าตัว
  • ไรฝุ่นและตากแดดให้แห้ง
  • งดใช้พรม แนะนำให้ใช้ผ้ากันไรฝุ่น ไม่สะสมหนังสือ ของเล่น ตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน
  • ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ
  • งดการสูบบุหรี่ในบ้าน
  • ไม่ควรใช้แป้งฝุ่น สเปรย์ปรับอากาศ และยาจุดกันยุง
  • ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขนในบ้าน เช่น แมว สุนัข
  • กำจัดขยะและเศษอาหารต่างๆ ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ
  • หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น ท่อไอเสียรถยนต์
  • ในครอบครัวที่ทารกมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ ควรส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
  • ส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนาน 30 นาที ความถี่ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
  • การใช้ยาและการฉีดสารภูมิแพ้ Immunotherapy (desensitization)

ภาวะภูมิไวเกินหรือภูมิแพ้

เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขและควบคุมได้ หากได้รับการทดสอบและรู้แน่ชัดว่าลูกมีปฏิกิริยาต่อสารอะไร ก็สามารถให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เด็กมีสิทธิ์จะได้รับ เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของเด็กๆ


สอบถามเพิ่มเติมที่ Super Kid’s Center
โทร. 0-2734-0000 ต่อ 3310, 3312, 3319

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (1 )
  • Your Rating