บทความสุขภาพ

อย่าวางใจเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับ“เบาหวาน”

Share:

เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเบาหวานคือ กรรมพันธุ์ ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่าอันตรายที่สำคัญของเบาหวานคือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในอวัยวะต่างๆ ทั้งหัวใจ สมอง ตา ไต ปลายประสาท เท้า ตลอดจนการติดเชื้อที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานหลายรายต้องสูญเสียอวัยวะไป

รู้ได้อย่างไรว่าเข้าใกล้เบาหวานแล้ว

พญ.ศศิธร รุ่งบรรณพันธุ์ อายุรแพทย์ระบบต่อมไร้ท่อและเบาหวาน กล่าวถึงวิธีสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานว่า

  • จะมีอาการปัสสาวะบ่อย
  • กระหายน้ำบ่อย
  • หิวบ่อย
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดเมื่อสงสัยว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์สำหรับการรักษานั้นแพทย์ต้องรวบรวมข้อมูลหลายอย่าง เพื่อประกอบการพิจารณาให้การรักษา ได้แก่
    ศึกษาจากประวัติผู้ป่วยว่ามีโรคแทรกซ้อนของเบาหวานหรือยัง เคยรักษาโรคเบาหวานมาก่อนหรือไม่ ประวัติโรคอื่นๆ ประวัติเบาหวานในครอบครัว รวมถึงนิสัยในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะระบบหลอดเลือดและปลายประสาท นอกจากนั้น ในผู้หญิงต้องดูประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรด้วย
    การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ตรวจหน้าที่ของไตและตับ และกรดยูริคในเลือด การเอ็กซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจปัสสาวะ และปริมาณไข่ขาวระดับไมโครในปัสสาวะ

แพทย์จะประเมินว่าท่านเป็นเบาหวานประเภทไหน สมควรให้การรักษาอย่างไร เพื่อตั้งเป้าหมายการรักษาให้เหมาะสมกับอายุ และสภาพของผู้ป่วย รวมทั้งพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งให้ความรู้และคำแนะนำเรื่องโรคเบาหวานและการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ตลอดจนการให้กำลังใจกับผู้ที่ต้องเผชิญกับโรคเบาหวาน วิธีการรักษาเบาหวานประกอบด้วย การควบคุมอาหาร หรือการรักษาด้วยอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา แต่การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็น รวมถึงการดูแลรักษาที่เป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ การให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้กำลังใจเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป้าหมายการรักษาที่ดีที่สุด

ประโยชน์จากการรักษาเบาหวาน

ไม่ใช่เพียงแค่รักษาเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติเท่านั้น การรักษาจะมุ่งถึงปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันของโรคเบาหวาน เช่น น้ำตาลสูง หรือต่ำจนเกินไป ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ หรือสมองตีบ ทั้งนี้เพื่อให้คนที่เป็นเบาหวานมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ที่เป็นเองว่ามีความตั้งใจจริงแค่ไหนที่จะรักษาเบาหวาน

สอบถามเพิ่มเติมที่ ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ
โทร. 0-2734-0000 ต่อ 1071, 1072

พญ.ศศิธร รุ่งบรรณพันธุ์
อายุรแพทย์ระบบต่อมไร้ท่อและเบาหวาน

  • Readers Rating
  • Rated 5 stars
    5 / 5 (1 )
  • Your Rating