บทความสุขภาพ

กระดูกสันหลังคด หายขาดได้

Share:

กระดูกสันหลังมีหน้าที่รับน้ำหนัก และช่วยพยุงร่างกายให้สามารถตั้งตรงได้ ในคนทั่วไปหากมองจากด้านหลัง จะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนวเส้นตรง แต่หากมองจากด้านหลังเห็นแนวกระดูกสันหลังโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ เราจะเรียกว่ากระดูกสันหลังคด นพ.ภัทร โฆสานันท์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่าผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดจะพบประมาณ 0.5%-5% ของประชากรทั่วไป โดยจะพบตั้งแต่เด็ก และมุมความคดของกระดูกจะเพิ่มขึ้นได้เมื่อเติบโตขึ้น ซึ่งคนที่มีความ เสี่ยงของโรคดังกล่าวคือ เพศหญิงและมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลังคด

สำหรับสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคดในเด็ก เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ
1.เกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังจนทำให้เกิดความผิดรูปของแนวกระดูก ได้แก่ รูปร่างของกระดูกสันหลังบางข้อหรือหลายๆ ข้อ ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด, เนื้องอกบางชนิดที่เกิดบริเวณกระดูกสันหลัง, โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
2.การคดจากสาเหตุอื่นๆ นอกเหนือจากกระดูกสันหลัง เช่น เกิดจากความ
แต่ในรายที่มีความคดมาก อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทรงตัวได้เนื่องจากความไม่สมดุลของร่างกาย หรืออาจจะมีความอ่อนแรงของแขนขา เนื่องจากมีการกดเบียดของเส้นประสาทหรือไขสันหลังส่วนแนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด นพ.ภัทร กล่าวว่าการรักษาจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.ติดตามสังเกตอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มุมความคดน้อยกว่า 25 องศา และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ แพทย์จะนัดตรวจและถ่ายภาพทางรังสีวิทยาทุก 4-6 เดือน เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงของมุมความคดอย่างไรบ้าง
2.การใส่เสื้อประคอง ซึ่งเสื้อประคองจะมีลักษณะเป็นโครงโลหะ เพื่อค้ำไม่ให้หลังคดเพิ่ม แต่จะใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยเด็ก ที่มีมุมความคด น้อยกว่า 25-30 องศา เนื่องจากกระดูกยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต และยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น มุมความคดจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นการใส่เสื้อประคองจะเป็นตัวช่วยค้ำให้หลังไม่คดเพิ่ม หรือมีการเปลี่ยนแปลงความคดให้น้อยที่สุด
3.การผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลัง แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัด เมื่อผู้ป่วยมีมุมความคดของหลังมากกว่า 45 องศา หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น มีความไม่สมดุลของแนวกระดูกสันหลัง หรือมีอาการผิดปกติของระบบประสาท เช่น มีอาการอ่อนแรง อย่างไรก็ตาม การสังเกตอาการ และการใส่เสื้อประคองจะทำไปจนกระทั่งกระดูกของผู้ป่วยหยุดการเจริญเติบโตแล้ว เพราะโอกาสที่หลังจะคดเพิ่มน้อยมาก


ยาวขาสองข้างไม่เท่ากัน ทำให้แนวสะโพกเอียง จึงเกิดความคดของกระดูกหลัง, การที่กล้ามเนื้อหลังสองด้านตึงตัวไม่เท่ากัน
นพ.ภัทร กล่าวต่อว่า โรคหลังคดจะมีความรุนแรงของอาการมากน้อย ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความคด ผู้ป่วยบางรายที่มีความคดไม่มาก อาจจะมีเพียงอาการปวดเมื่อยหลังเวลาที่มีกิจกรรมต่างๆ


โรคกระดูกสันหลังคดนั้นเป็นโรคที่อาจจะไม่ได้พบบ่อย แต่เป็นโรคที่สามารถสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยได้มาก ไม่ว่าจะเป็นความผิดรูปที่ทำให้มีรูปร่างไม่เหมือนคนอื่นๆ จากความเจ็บปวด และอาจจะมากไปถึงเกิดความพิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ โดยผลการรักษาที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำ เมื่อตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรค การรักษาก็สามารถทำได้ง่าย และสามารถทำได้ด้วยวิธีที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือหากจะต้องทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดรูปไม่รุนแรงมากนัก แพทย์ก็สามารถที่จะแก้ไขความผิดรูปนั้นให้กลับสู่สภาพปกติ หรือใกล้เคียงคนปกติให้มากที่สุดได้

สอบถามเพิ่มเติมที่
ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 0 2734 0000 ต่อ 5500, 5550