บทความสุขภาพ

“ปวดฟัน” อาการธรรมดา..ที่ไม่ธรรมดา หากไม่รักษาอาจอักเสบและติดเชื้อรุนแรง

Share:

โดยสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ เช่น การติดเชื้อบริเวณลำคอ การติดเชื้อในโพรงอากาศไซนัส หรือเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นต้น

ทั้งนี้ การปวดฟัน หมายถึง อาการปวดบริเวณตัวฟัน หรืออวัยวะรอบตัวฟัน ส่วนใหญ่มักเป็นพบว่ามีสาเหตุจาก ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันคุด ฟันแตก ฟันสึก หรืออวัยวะปริทันต์อักเสบ ซึ่งอาการปวดไม่สามารถหายเองได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ต้นเหตุ ฉะนั้นเมื่อเกิดอาการปวดฟัน  ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุของอาการปวดฟัน

  • ฟันผุ
  • ฟันคุด
  • ฟันร้าวหรือฟันแตก
  • ฟันสึกลึกจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
  • โรคเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน
  • ปลายรากฟันอักเสบเป็นหนอง
  • เศษอาหารสะสมบริเวณซอกฟันส่งผลให้ให้เหงือกรอบ ๆ อักเสบ กลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย
  • การปวดฟัน อันเนื่องมาจากฟันขึ้นกำลังขึ้นในวัยเด็ก
  • การปวดกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร เนื่องจากการนอนกัดฟัน
  • ฟันได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก

ประเภทของอาการปวดฟัน อาการปวดฟัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. ปวดแบบชั่วคราวหายได้เอง : มักเกิดอาการเมื่อได้รับปัจจัยกระตุ้น เช่น การรับประทานของเย็น ของร้อน หรือขณะเคี้ยวอาหาร โดยอาการเหล่านี้จะหายไปได้เองเมื่อกำจัดปัจจัยกระตุ้น ลักษณะอาการปวดมักจะมีลักษณะ ปวดจี๊ดๆ หรือ ร่วมกับอาการเสียว โดยมากพบว่าสาเหตุเกิดจากฟันผุหรือฟันบิ่นจนถึงเนื้อฟันชั้นใน ความเย็น ความร้อน และการบดเคี้ยวอาหาร จึงกระตุ้นเส้นประสาทในโพรงประสาทใต้เนื้อฟันได้มากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกเสียวฟัน สามารถรักษาให้หายได้โดยการบูรณะฟันร่วมกับการใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน
  2. ปวดเป็นจังหวะตุ๊บ ๆ : อาการปวดลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้เองแม้ไม่มีปัจจัยกระตุ้น โดยส่วนใหญ่พบว่าอาการปวดมักเกิดในเวลากลางคืน และการรับประทานของร้อนจะทำให้อาการปวดนั้นแย่ลง ส่วนของเย็น หรือการเคี้ยวอาหาร ก็พบว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน และอาการปวดจะยังคงอยู่ แม้จะไม่ได้มีสิ่งกระตุ้นเล้วก็ตาม อาจพบร่วมกับอาการบวมหรือหนองบริเวณเหงือกรอบๆฟันซี่นั้น ซึ่งการปวดลักษณะดังกล่าว จะมีความรุนแรงมากกว่าอาการปวดฟันแบบแรก เพราะมีการผุจนทะลุถึงโพรงประสาทภายในฟันแล้ว การรักษาจึงจำเป็นต้องรักษารากฟันร่วมกับการบูรณะฟัน

“ปวดฟัน” อย่าเพิกเฉย ควรพบทันตแพทย์

เมื่อมีอาการปวดฟัน ควรพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ รับการรักษาตามลักษณะอาการและสาเหตุของโรค เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาการปวดอาจรุนแรงขึ้นหรือมีไข้ร่วม เหงือกหรือช่องปากบวม ซึ่งทำให้การรักษายากขึ้น และอาจจำเป็นต้องถอนฟัน

ดูแลสุขภาพช่องปาก ลดการเกิดอาการปวดฟัน

อาการปวดฟัน มักสืบเนื่องมากจากปัญหาฟันผุ ฉะนั้นแล้วเราจึงควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการปวดฟัน ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หมั่นใช้ไหมขัดฟัน และพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ทันตกรรมเดนทัลลิสและศูนย์รากฟันเทียม

โทร. 02-7340366-7, 02-734 – 0000 ต่อ 3000

  • Readers Rating
  • Rated 3.6 stars
    3.6 / 5 (16 )
  • Your Rating