บทความสุขภาพ

การดูแลสมองเด็ก

Share:

การดูแลสมองเด็กหากดูแลสมองไม่ดีจะเกิดผลเสียอย่างไร

  • ถ้าได้รับบาดเจ็บบ่อยๆ โดยเฉพาะสมองส่วนหน้า เด็กอาจมีปัญหาเรื่องการเรียนหรือการหลั่งสารสื่อประสาทของสมอง ทำให้สมาธิสั้นได้
  • เนื่องจากสมองพัฒนาตามสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ ดังนั้น หากเด็กโตขึ้นมาด้วยสิ่งแวดล้อมที่ยุ่งเหยิง มีความรุนแรง ไม่มีความปลอดภัย ไม่ได้รับความรัก สมองเด็กก็จะพัฒนาไม่ได้เต็มตามศักยภาพ กลายเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างปัญหาให้สังคมต่อไป

การเจริญเติบโตของสมองในช่วงวัยเด็ก สมองแบ่งเป็น 3 ส่วน

  • สมองของสัตว์เลื้อยคลาน ขึ้นกับพันธุกรรม 90-95% หากยกตัวอย่างตามพัฒนาการเด็ก คือ ช่วงที่เด็กกำลังเรียนรู้การควบคุมตนเองทุกด้าน เช่น การนอน การกิน การเล่น (เล่นจ๊ะเอ๋, เล่นจั๊กจี้ ฯลฯ)
  • สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคโบราณ เกี่ยวกับความจำเหตุการณ์ สถานที่ ความรู้สึก เกิดมาทำงานได้แล้ว 50% และพัฒนาช่วง 1 ปีแรก กำหนด พื้นอารมณ์, พัฒนาการทางอารมณ์หากยกตัวอย่างตามพัฒนาการเด็ก คือ ช่วงที่เด็กกำลังเรียนรู้การบูรณาการระหว่างประสาทสัมผัสกับการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี
  • สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคใหม่ เริ่มสร้างในช่วง 3 ปีแรก จนถึง 6 ขวบได้ประมาณ 80% 9ปี โต90% และจะโตไปเรื่อยๆจนอายุ 25ปี ขึ้นกับพันธุกรรมแค่ 10-20%
  • สมองส่วนหน้า prefrontal cortex คล้ายกับเป็น CEO ของสมอง เพิ่งสร้างเมื่อ 2ปีแรก ทำหน้าที่สร้างเครือข่ายเชื่อมโยง หากยกตัวอย่างตามพัฒนาการเด็ก คือ ช่วงที่เด็กกำลังเรียนรู้การอยู่ในสังคม การควบคุมอารมณ์ การรู้จักกติกา แพ้ชนะ คุณธรรม ช่วงย่างเข้าวัยรุ่น จะเป็นส่วนที่คุมร่างกายและจิตใจทั้งหมด รวมถึงความคิดเชิงนามธรรม
  • เพิ่มความสามารถทางสติปัญญาอย่างมาก มีการเชื่อมต่อเครือข่ายในสมองทั้งความจำ ภาษา ตรรกะต่าง
  • เด็กส่วนใหญ่มีการทำงานของสมองส่วน prefrontal cortex มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 60% โดยช่วงที่เด็กอยู่ในวัยศึกษา สมองของเขาจะมีการแตกแขนงประสาทที่ใช้เป็นประจำและตัดทอนส่วนที่ไม่ได้ใช้

วิธีการดูแลสมองของเด็กให้ปกติ

  • อาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ มีผลต่อสมองส่วนที่ 3 เนื่องจากยืดหยุ่นมากในช่วง 3 ปีแรก
  • ออกกำลังกายพอเพียงสม่ำเสมอ ไม่ควรเล่นกีฬาที่แข่งกันหรืออาจจะเล่นๆแบบผลัดกันแพ้ชนะ
  • ฝึกฝนสมองบ่อยๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีรูปแบบ (pattern style) เช่น ดนตรี การอ่าน การสนทนา ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ การฟังภาษาช่วยทำให้การพูดดีขึ้นได้, การฝึกเปียโน ช่วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก และ การอ่านจังหวะดนตรี, การอ่านหนังสือช่วยการจับใจความและการคิดเชิงนามธรรม
  • นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
  • ให้เด็กมีโอกาสเล่นอย่างอิสระ ส่วนเราคอยเอื้อความสะดวกให้ หรือทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
  • ให้ความรักกับเด็ก เด็กรู้สึกมีคุณค่า ส่งให้รักตนเองและรักพ่อแม่กลับคืน เมื่อเต็มแล้วก็รักผู้อื่นได้
  • มีการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนเก่า เพื่อให้เด็กได้เจอเด็กคนอื่นบ้าง ดูวิธีการคบเพื่อนของพ่อแม่

ข้อควรหลีกเลี่ยงที่จะทำให้สมองเกิดอันตราย

  • การขี่รถจักรยานหรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ควรใส่หมวกกันน๊อก
  • ระวังการปีนป่ายของเด็ก

ทำอย่างไรช่วยเพิ่มพลังสมองให้ลูกได้

กินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารเช้า และดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเน้น
  • กรดไขมัน: น้ำมันปลา มี omega6และ3 เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์สมอง พัฒนาสมองและสายตา: นมแม่, ปลาทู, ปลากระพง
  • ธาตุเหล็ก: เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ไก่ ผักโขม งาดำ งาขาว ใบชะพลู ถั่วเหลือง ถั่วแดง ตำลึง
  • สังกะสี: สังเคราะห์ DNA: อาหารทะเล (หอย) ตับ ไข่ เนื้อสัตว์ ชา ถั่ว ผักผลไม้
  • ไอโอดีน/ธัยรอยด์ฮอร์โมน: (การสร้างเซลล์สมอง): อาหารทะเล
  • กรดโฟลิก: สร้าง DNA แม่ต้องกินตั้งแต่ก่อนปฎิสนธิเล่น = เรียนรู้+ ความสุข + งาน ….+ ความสนใจจากผู้ใหญ่, ความรักพัฒนาทักษะทางสังคมและพฤติกรรมการสำรวจด้วยตนเอง เช่น การอ่าน การท่องเที่ยว การจินตนาการพาไปพิพิธภัณฑ์ ไปท่องเที่ยว ธรรมชาติเรียนเต้น ศิลปะ กีฬาไปบำเพ็ญประโยชน์กิจกรรมการพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเขียน ได้แก่ เล่นต่อเพลง หรือต่อกลอนคำคล้องจอง เช่น มีกี่คำที่ออกเสียงคล้องจองกับ “กิน” เช่น หิน บิน ยิน ฯลฯ  Phonics – เล่นเกม เช่น ใครคิดคำได้มากที่สุดจากอักษร ของคำว่า “รับประทาน”Fluency – ให้เด็กอ่านออกเสียงบ่อยๆ  Comprehension – อ่านจับใจความความจำ เล่นเกมจับคู่หรือเล่าเรื่องที่เคยได้ยินมา เล่นเกมเรียงลำดับเหตุการณ์ ก่อนหลังอย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การที่เด็กได้รับความรักและมีการตอบสนองที่เหมาะสมตั้งแต่เล็ก

สอบถามเพิ่มเติมที่ Super Kid’s Center

อาคาร 1 ชั้น 3 โทร. 0 2734 0000 ต่อ 3310, 3312, 3319

กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

  • Readers Rating
  • Rated 4 stars
    4 / 5 (1 )
  • Your Rating